วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

สังคม
1.            โครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุก ๆ สังคม แม้ว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม
โครงสร้างของสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. สังคมชนบท (กลุ่มปฐมภูมิ)
2. สังคมเมือง (กลุ่มทุติยภูมิ)
โดยที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในชนบท ซึ่งเป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม ดังนั้นถ้าหากรู้จักสังคมและวัฒนธรรมไทยจะต้องพิจารณาจากโครงสร้างสังคมชนบทเป็นหลัก และ จะต้องพิจารณาถึงอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรม เมืองที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมชนบทประกอบไปพร้อมๆกัน
             สังคมชนบท
จัดว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย เพราะ...อ่านต่อ...
2.            การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
สาเหตุที่ต้องจัดระเบียบทางสังคม
1. เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม
3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขและมั่นคงในสังคม
องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม
1. บรรทัดฐานของสังคม
2. สถานภาพ
3. บทบาท
4. การควบคุมทางสังคม
กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม ประกอบด้วย 3 ประเภท คืออ่านต่อ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น