วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1.            การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
 การประสานประโยชน์หรือความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น นอกจากเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพแล้วยังเป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการค้า การทหาร ตลอดจนวัฒนธรรม จึงทำให้ประเทศ ต่างๆ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อประสานผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของตน
ประเภทของความร่วมมือระหว่างประเทศ
1. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเมือง เป็นความร่วมมือของประเทศต่างๆ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านทหาร ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารต่อกัน เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต เป็นต้น
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ เป็นการร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งหลาย...อ่านต่อ...

2. การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

ไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
   1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548
   1.2 ประธานาธิบดีพบหารือกับายกรัฐมนตรีรวม 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นการหารือนอกรอบการประชุม ASEM ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (State Visit) ของ ประธานาธิบดีชีรัค ซึ่ง Highlights ได้แก่
      (1) การติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action)อาทิ การค้า การลงทุน ความร่วมมือไตรภาคี ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การท่องเที่ยว การศึกษาและวัฒนธรรม


      (2) ชักชวนฝรั่งเศสมาลงทุนในโครงการ Mega-Projects ของไทย ซึ่งฝรั่งเศสให้ความสนใจโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติและระบบ...อ่านต่อ...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

กฎหมาย
1.            กฎหมายเกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล
1.  ชื่อบุคคล  เป็นเครื่องบ่งชี้เฉพาะบุคคล  ประกอบด้วยชื่อตัว  ชื่อรอง  และชื่อสกุล (แต่คนไทยไม่นิยมใช้ชื่อรอง)
–  ชื่อตัว  เป็นชื่อประจำตัวบุคคลแต่ละคน  ใช้บ่งชี้เฉพาะตัวบุคคลได้  แต่มิอาจซ้ำกัน
–  ชื่อรอง  เป็นชื่อถัดจากชื่อตัว  กฎหมายไม่บังคับให้ใช้ชื่อรอง
–  ชื่อสกุล  เป็นชื่อประจำวงศ์ตระกูล  ใช้ร่วมกับชื่อตัว  ทำให้สามารถบ่งชี้บุคคลได้เฉพาะเจาะจงได้ดีขึ้น
2.  การตั้งชื่อตัว  และชื่อรอง  มีหลักเกณฑ์  คือ
–  ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายปรมาภิไธย  พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
–  ต้องไม่มีความหมายหยาบคาย  ไม่มีเจตนาทุจริต  มีความหมายรู้ว่าเป็นชายหรือหญิง
–  ผู้เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์  จะใช้...อ่านต่อ...
2.            ข้อตกลงระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี: สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ
เเถลงการณ์ร่วมระหว่างประเทศไทย - ประเทศอิสราเอล

การหารืออย่างเป็นทางการระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของไทยเเละอิสราเอล กรุงเยรูซาเลม ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ การหารืออย่างเป็นทางการครั้งเเรกระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของไทยเเละอิสราเอลถูกจัดขึ้น ณ กรุงเยรูซาเลม เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕การประชุมจัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศเเห่งมิตรภาพเเละความร่วมมือซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันเเน่นเเฟ้นเเละอบอุ่นระหว่างสองประเทศ ในระหว่างการประชุมได้มีการเเจ้งให้ทราบถึงข้อมูลปัจจุบันในระดับทวิภาคี ภูมิภาค เเละพหุภาคี รวมทั้งการส่ง-เสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในเรื่องต่าง ๆ เช่น...อ่านต่อ...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

วัฒนธรรม
1.            วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมและประเพณี ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงออกถึงความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน และสร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ศิลปะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเฉพาะ ส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราว สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่แบบไทยตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวยงามอ่อนช้อย และมีเรื่องราวกึ่งลึกกลับมหัศจรรย์
ศิลปกรรม
     ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม  แสดงออกถึงความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน  และสร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต  จนได้ศิลปะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเฉพาะ  ส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราว  สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่แบบไทยตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน  สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา  สวยงามอ่อนช้อย  และมีเรื่องราวกึ่งลึกกลับมหัศจรรย์
จิตรกรรม
 นิยมเขียนบนผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและบุคคลชั้นสูง  เช่นอ่านต่อ...

2.            ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
 ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมความเชื่อและค่านิยม เนื่องจากแต่ละประเทศ มีลักษณะทางวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันอันนำไปสู่ชนวนการทำสงครามได้       การแก้ไขและป้องก้นความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมคือการหันหน้ามาปรึกษาหารือกัน และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
สาเหตุความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1. ความแตกต่างทางเชื้อชาติ
     เผ่าพันธุ์ และศาสนา ย่อมมีวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน เช่น การแต่งกาย การกินอยู่ พิธีกรรม จึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
2. ลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์
     ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ย่อมทำให้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มจะมีลักษณะการกินอยู่ ประเพณี ความเชื่อ และอ่านต่อ...


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางสังคม

1.            การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ
ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
พวงเพชร สุรัตนกวีกุล (2541) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมว่าหมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบของโครงสร้างทางสังคม พฤติกรรมทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นไปได้ทั้งในทางบวกและทางลบ คือ...อ่านต่อ...


2.            ปัญหาทางสังคม
      ปัญหาสังคม  หมายถึง ภาวะใดๆ ในสังคมที่คนจำนวนมากถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ และไม่พึงปรารถนา รู้สึกไม่สบายใจ และต้องการให้มีการแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการทุจริตในวงราชการ ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ปัญหาสังคมเป็นผลมาจากกระบวนการทางสังคม รวมถึงการประเมินพฤติกรรมของคนในสังคมด้วยมาตรฐานศีลธรรมในขณะนั้น
           จากคำจำกัดความดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ปัญหาหรือข้อขัดแย้งที่กระทบคนส่วนใหญ่ในสังคมเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นปัญหาสังคม แต่หากเป็นปัญหาของตัวบุคคลเพียงคนเดียว เช่นพี่ทะเลาะกับน้อง เพราะน้องไม่ยอมทำการบ้าน ครูลงโทษนักเรียน เพราะทำผิดกฎของโรงเรียน จะไม่ถือว่าเป็นปัญหาสังคม
           สังคมไทยก็เป็นเช่นเดียวกับสังคมอื่นๆ ทั่วโลกที่มีปัญหา เพราะทุกสังคมมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานทำให้เกิดปัญหาสังคมได้ ปัญหาสังคมอาจมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสังคมในระดับและขอบเขตที่ต่างกัน เช่น ระดับขุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก เป็นต้น
         2.1 ปัญหายาเสพติด         

                ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มความรุนแรงทุกขณะ ดังจะเห็นได้จากสถิติการจับกุมผู้กระทำความผิดเมื่อปี...อ่านต่อ...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

สังคม
1.            โครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุก ๆ สังคม แม้ว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม
โครงสร้างของสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. สังคมชนบท (กลุ่มปฐมภูมิ)
2. สังคมเมือง (กลุ่มทุติยภูมิ)
โดยที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในชนบท ซึ่งเป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม ดังนั้นถ้าหากรู้จักสังคมและวัฒนธรรมไทยจะต้องพิจารณาจากโครงสร้างสังคมชนบทเป็นหลัก และ จะต้องพิจารณาถึงอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรม เมืองที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมชนบทประกอบไปพร้อมๆกัน
             สังคมชนบท
จัดว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย เพราะ...อ่านต่อ...
2.            การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
สาเหตุที่ต้องจัดระเบียบทางสังคม
1. เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม
3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขและมั่นคงในสังคม
องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม
1. บรรทัดฐานของสังคม
2. สถานภาพ
3. บทบาท
4. การควบคุมทางสังคม
กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม ประกอบด้วย 3 ประเภท คืออ่านต่อ...

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

สิทธิมนุษยชน

1.สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
                1.1  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
                 1.2.  สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
   1.2.1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
   1.2.2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
   1.2.3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
   1.2.4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
               1.3.  หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน  คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน

           2.  สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

  2.1.  สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์ แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น  การละเมิดสิทธิเด็ก  เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ  การละเมิดสิทธิสตรี  ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต   โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
 2.2.  การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน  สังคมไทยต่อไปนี้
                 2.2.1.   ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่พัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
   2.2.2.   ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
     2.2.3.   มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาติบ้านเมืองอย่างมีอิสระ
     2.2.4.   ใช้สิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมให้มีประสิทธิภาพ
     2.2.5.   ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ
 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีดังนี้...อ่านต่อ




หน่วยการเรียนรู้ที่ 5


การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.รัฐ

           สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ...อ่านต่อ....

 2.ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับกำหนดรูปแบบการปกครองและประมุขแห่งรัฐไว้ว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการเทิดทูนพระมหากษัตริย์ คือ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และรัฐธรรมนูญยังกำหนดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน โดยใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล การกำหนดเช่นนี้หมายความว่าอำนาจต่าง ๆ จะใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ซึ่งในความเป็นจริงอำนาจเหล่านี้มีองค์กรเป็นผู้ใช้ ฉะนั้นการที่บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผ่านทางองค์กรต่าง ๆ นั้น จึงเป็นการเทิดพระเกียรติ แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่องค์กรที่เป็นผู้พิจารณานำขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลง
พระปรมาภิไธย
          พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญของไทยแม้จะได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการ เมืองและกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการปฏิบัติทางการปกครอง ทุกอย่าง แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรงมีอำนาจบางประการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ และ
เป็นพระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัยจริง ๆ ได้แก่ การแต่งตั้งคณะองคมนตรี การแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ และ...อ่านต่อ....